เมนู

กันแห่งสงฆ์กำจัดแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

สงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ ในขณะนั้นเทียว.

สังฆสามัคคี 2 อย่าง


[259] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลี เข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้ว
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบ
ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ความบาดหมาง ความ
ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความ
ร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมี
เพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทัน วินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ
จากมูลเหตู แล้วทำสังฆสามัคดี สังฆสามัคดีนั้น เป็นธรรมหรือหนอ พระ
พุทธเจ้าข้า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ
ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่ง
สงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด
สงฆ์ยังไม่ทัน วินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้ว
ทำสังฆสามัคดี สังฆสามัคคีนั้น ไม่เป็นธรรม.
อุ. พระพุทธเจ้าข้า ก็ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง
ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่าง
กันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่อง
นั้นสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้น
เป็นธรรมหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ?

พ. อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความ
วิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่ง
สงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาว
เข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้นเป็นธรรม.
อ. สังฆสามัคคีมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พ. อุบาลี สังฆสามัคคีมี 2 อย่าง คือ สังฆสามัคคีเสียอรรถแต่ได้
พยัญชนะ 1 สังฆสามัคคีได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะ 1.
1. อุบาลี สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะเป็นไฉนเล่า ?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์
ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำ
ต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทันวินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่
ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี นี้เรียกว่าสังฆสามัคคี
เสียอรรถแต่ได้พยัญชนะ.
2. อุบาลี สังฆสามัคคี ได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะเป็นไฉนเล่า ?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์
ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำ
ต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาวเข้าไปถึง
มูลเหตุจากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี นี้เรียกว่า สังฆสามัคคีที่ได้ทั้งอรรถ
ได้ทั้งพยัญชนะ อุบาลี สังฆสามัคคี 2 อย่างนี้แล.
ลำดับนั้น ท่านพระอุบาลีลุกจากอาสน์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
คาถา ว่าดังนี้:-

อุบาลีคาคา


[260] อุ. เมื่อกิจของสงฆ์ การ
ปรึกษาวินัย การตีความวินัย และการวินิจฉัย
ความแต่งวินัยเกิดขึ้นแล้ว ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ เป็นคนชนิดไร จึงมีอุปการะมาก เป็น
คนชนิดไร จึงควรยกย่อง ในพระธรรม-
วินัยนี้.
พ. เบื้องต้น ภิกษุไม่ถูกตำหนิโดย
ศีล หมั่นตรวจมรรยาท และสำรวม
อันทรีย์เรียบร้อย ศัตรูเตียนไม่ได้โดยธรรม
เพราะเธอไม่มีความผิดที่ฝ่ายศัตรูจะพึงล่าว
ถึงเธอ ผู้เช่นนั้น ตั้งอยู่ในศีลวิสุทธิ์ เป็นผู้
แกล้วกล้า พูดจาฉาดฉาน เข้าที่ประชุมไม่
สะดุ้ง ไม่ประหม่า กล่าวล้อคำมีเหตุ ไม่
ไห้เสียความ ถึงถูกถามปัญหาในที่ประชุม
ก็เช่นนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่นิ่งอั้น ไม่เก้อ
เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญ กล่าวถ้อยคำถูกกาล
เหมาะแก่การพยากรณ์ ย่อมยังหมู่วิญญูชน
ให้พอใจ มีความเคารพในภิกษุทั้งหลาย ที่
แก่พรรษากว่า เป็นผู้แกล้วกล้าในอาจริย-
วาทของตน สามารถเพื่อจะวิจารณ์ ชำนาญ
ในถ้อยคำที่จะพึงกล่าว ฉลาดจับข้อพิรุธของ
ฝ่ายศัตรู เป็นเหตุให้ฝ่ายศัตรูถึงความถูก